shopup.com

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

12162915

ดูบทความโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังที่ปวดทั่วทั้งตัว

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังที่ปวดทั่วทั้งตัว

หมวดหมู่: นอกเรื่อง

 

อ่านไม่ผิดหรอกครับ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการปวดทั่วทั้งตัวจริงๆ ปวดตั้งแต่ศีรษะยันนิ้วเท้า ปวดอย่างไม่มีเหตุผล ปวดหาที่มาไม่ได้ จัดว่าเป็นโรคที่สร้างปัญหาแก่ตัวผู้ป่วยและผู้รักษาด้วยกันทั้งคู่เลยละครับ เพราะอาการที่แสดงมานั้นบางครั้งมันก็ไม่มีเหตุผล จู่ๆก็ปวดขึ้นมาดื้อๆ เช่น ปวดที่ใบหูซ้ายอย่างงี้ ผมก็งงละสิ โรคอะไรกันที่ปวดที่ใบหู ถ้าปวดกกหูก็ยังพอวินิจฉัยโรคได้ แต่นี่ปวดใบหู แล้วอาการของผู้ป่วยที่มารักษาแต่ละวันนั้นแทบไม่ซํ้ากันเลยละครับ วันนี้ปวดใบหู พรุ่งนี้ปวดนิ้วมือ วันถัดไปปวดขาหนีบ - -! 


โรคไฟโบรมัยอัลเจียนั้นมีความคล้ายคลึงกับโรคปวดกล้ามเนื้อทั่วไป (myofascial pain syndrome) เพียงแต่โรคปวดกล้ามเนื้อทั่วไปนั้น จะมีอาการปวดเพียงไม่กี่จุดตามร่างกาย และส่วนมากมักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อซํ้าๆเดิมๆเป็นเวลานานๆจนทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดจากการบาดเจ็บเรื้อรังมาแต่ไม่ได้รับกษาให้หายขาด ซึ่งมีที่มาที่ไปชัดเจน แต่โรคไฟโบรมัยอัลเจียนี่ปวดมากกว่า 10 จุดทั่วทั้งร่างกาย แม้นอนอยู่เฉยๆก็มีอาการปวดได้และจะปวดมากขึ้นหากได้ทำงานหรือใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก


สาเหตุของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย


โรคนี้ยังสาเหตุที่แน่ชัดครับ แต่สันนิษฐานว่ามีความเกี่ยวข้องทางจิตใจอยู่มาก เช่น เป็นโรคซึมเศร้า มีความเครียดอยู่ตลอดเวลา เคยได้พบเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรงในอดีต เป็นโรคเรื้อรังบางชนิด นอนไม่หลับ เป็นต้น 


อาการของผู้ที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจีย


- นอนไม่หลับ ไม่สามารถนอนหลับลึกได้ ตื่นทุกๆ 2 ชั่วโมง เมื่อตื่นมาไม่รู้สึกสดชื่นเหมือนคนนอนไม่พอติดต่อกันเป็นเวลานาน

- มีการรับความรู้สึกที่ไวมากกว่าปกติ เช่น อากาศอุ่นขึ้นเพียงเล็กน้อยก็บอกว่าร้อนแล้ว พออากาศเย็นลงหน่อยก็บอกว่าหนาว แตะโดนตัวเบาๆก็รู้สึกเจ็บ เป็นต้น

- มีความผิดปกติทางจิตใจร่วมด้วย เช่น เป็นโรคซึมเศร้าอยู่ก่อนแล้ว

- อ่อนเพลียง่าย

- มีความเครียดง่าย อ่อนไหวทางอารมณ์สูง

- รู้สึกกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นฝืดตึง

- กล้ามเนื้ออ่อนแรง

- ปวดกล้ามเนื้อทั่วทั้งร่างกาย และส่วนมากมักปวดไม่เลือกเวลา ปวดอย่างไม่มีเหตุผล และจะปวดมากขึ้นเมื่อมีอารมร์โกรธ หรือซึมเศร้า

- ปวดตามข้อต่อ ทั้งๆที่ตรวจโรคแล้วก็ไม่พบว่าข้อต่อมีปัญหาอะไร

- จำเหตุการณ์ต่างๆที่เข้ามาในชีวิตไม่ค่อยได้ ขี้หลงขี้ลืม

หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวยาวนานติดต่อกันมากกว่า 6 เดือนก็สันนิษฐานได้เลยครับว่าเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียแน่ๆ


การดูแลรักษาสำหรับผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจีย


เมื่อเราทราบว่าเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียแล้วแน่ๆ สิ่งแรกที่ต้องทำเลยครับคือ การเปลี่ยนสภาแวดล้อม เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่นั้นมีผลต่อการรักษาอย่างมาก เช่น อยู่ในแหล่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดได้ง่าย มีเพื่อนๆหรือคนรู้จักที่ชอบนำเรื่องเครียดๆแย่ๆมาพูดคุยเป็นประจำ ให้เปลี่ยนมาอยู่ในแหล่งที่สงบเงียบ หลีกเลี่ยงการพูดคุยที่กระตุ้นอารมณ์ให้เกิดความเครียด หมั่นออกจากสภาพแวดล้อมเดิมๆ เช่น เคยกลับบ้านมาก็มานั่งดูทีวี เล่นคอมให้เปลี่ยนเป็นปั่นจักรยานเล่น ออกไปเดินเล่นข้างนอกที่สงบเงียบ หรือฝึกนั่งสมาธิก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีไม่แพ้กัน


ให้หมั่นออกกำลังกายครับ เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีนิสัยที่เครียดง่าย เก็บตัว ไม่ค่อยเข้าสังคม ดังนั้น การออกไปออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเร็ว การปั่นจักรยาน การว่ายนํ้า การรำไทเก๊ก ก็เป็นกิจกรรมที่สร้างความผ่อนคลายให้แก่ผู้ป่วยได้ดีมาก และการออกกำลังกายยังทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เรามีความสุขอีกด้วยนะครับ 


สรุปก็คือ สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้จะเน้นการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเป็นหลักครับ บางรายอาจต้องทานยาร่วมด้วย ซึ่งโรคนี้จะหายขาดหรือไม่นั้นหลักๆแล้วขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของตัวผู้ป่วยเองครับ หากสภาพจิตใจดี อาการปวด อาการนอนไม่หลับต่างๆก็จะค่อยๆดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งคนในครอบครัวก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลนะ 

 

เครดิตภาพ

- http://www.lamarihuana.com/nuevo-metaestudio-reafirma-el-cannabis-como-tratamiento-seguro-y-eficaz-para-el-dolor-cronico-no-oncologico/

23 ธันวาคม 2559

ผู้ชม 24882 ครั้ง

    Engine by shopup.com